มาใช้รถให้ถูกวิธี ลองมาดูกันนะครับว่า คุณปฏิบัติได้ถูกต้องแค่ไหน
ผิด 1. " สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง "
ที่ ถูก...อุ่นเครื่องยนต์สักหน่อยก่อนออกรถจะดีกว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง " เย็น " อยู่ เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า หรือติดเครื่องยนต์ เมื่องานเลิกเพื่อ กลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปนกับฟิล์มน้ำมันเครื่อง ที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอ ในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด และไอน้ำที่เกิดจากการ เผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ เร็วขึ้นอีกด้วย
ผิด 2. " รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน "
ที่ ถูก...รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน รถรุ่นใหม่ ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพ อย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอิน และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสัก ครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไปการ รันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง ๑ , ๐๐๐ กิโลเมตรแรกไม่ เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หรือ ใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน ๓ , ๐๐๐ รอบต่อนาทีได้ก็จะดี และ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด พูดถึง เรื่องนี้เคยมีผู้ใช้รถบางคน ไม่นำรถเข้า ศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบ โดยให้เหตุผลว่า เสียเวลาเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ทำที่ไหนก็ได้ อย่างนี้ "น่าเสียดาย " แทนจริง ๆ เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์จะเรียกร้องเอากับใคร
ผิด 3." ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดช่วยยืดอายุใบปัด "
ที่ ถูก...สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้นส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำ ฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีด น้ำจากกระจก บังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ ๑ ปี หากใช้นานกว่านั้น เนื้อยางจะแข็งตัวหรือมี การฉีกขาดไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม อีกส่วนคือก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบ สนิทกับกระจกซึ่งรับ แรงจากคันโยกและมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอด ตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลาอายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิม หลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด
ผิด 4. " รถติดไฟแดงค้างเกียร์ D ไว้ดีกว่าเปลี่ยนเกียร์ว่าง "
ที่ ถูก...ถ้าติดไฟแดงนาน ก็ต้องระวังชนคันหน้า ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้ เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่าง และเหยียบเบรกป้องกันรถไหล คงจะไม่มีใครเหยียบคลัตช์ และ เบรก ใส่เกียร์คาไว้ ให้เมื่อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มแรก เหยียบเบรกโดยค้างเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง "D"
กลุ่มที่ ๒ เบรกเหมือนกันแต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง "N"
กลุ่ม สุดท้ายดันคันเกียร์มาอยู่ที่ "P" ไม่เหยียบเบรกถ้าติดไฟ แดงนานๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุดเพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรกรถอาจ พุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ ๒ เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้ายสบายใจได้ แต่อาจจะไม่สะดวก กับการใช้งาน วิธีดีที่สุด คือ ใช้เกียร์ว่าง และดึงเบรกมือ
ผิด 5. " เดินทางไกลลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง "
ที่ ถูก...ลมน้อย ยางมีโอกาสระเบิดได้มาก คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่า ผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์ กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้ สูงขึ้นอีก ๒ - ๓ ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล ลมยางที่ อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว ยังอาจส่ง ผลเสียกับโครงสร้าง ยางได้ และมีโอกาสเกิด " ยางระเบิด " มากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่ มีแรงดันลมยางเกินกำหนดเพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี
ผิด 6. " ฝนตกใส่ขับ ๔ ล้อเกาะกว่า...๒ ล้อ "
ที่ ถูก...อย่าใช้ ระบบขับเคลื่อนผิดประเภท จะได้ไม่ต้องเสียใจ ระบบขับเคลื่อน ๔ ล้อนั้น อาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน ๒ ล้อ แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบขับ เคลื่อน ๔ ล้อแบบพาร์ทไทม์หรือ " ตามต้องการ " ในรถบรรทุกหรือพีพีวี ที่มีชุดส่งกำลังแยก เพื่อส่งกำลังไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมายังล้อหน้า อาการท้ายปัดหรือล้อหลังฟรี ก็จะน้อยลงแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูงล้อหน้าที่ถูกลอค ให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่ กว้างขึ้น จึงมีรถประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกัน เป็นประจำระบบขับเคลื่อน ๔ ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดาน ได้ง่ายขึ้น ต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือ " ตลอดเวลา " ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะ ถนน
ผิด 7. " ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ "
ที่ ถูก...ทุกล้อมีความสำคัญ ตั้งศูนย์ล้อควรทำ ทั้ง ๔ ล้อ เชื่อหรือไม่ว่า ศูนย์ล้อหลัง มีความสำคัญพอ ๆ กับ ศูนย์ล้อหน้าหรืออาจจะมากกว่าเพราะมุมที่ล้อหลัง เอียงไปเพียงเล็ก น้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลเมื่อเบรก หรือเลี้ยว และทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่คิด รถยนต์ ส่วนใหญ่จะปรับตั้งศูนย์ล้อได้หน้า/หลัง ยกเว้นรถขับเคลื่อนหน้าบางรุ่นที่ปรับได้แต่เฉพาะล้อ หน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตั้งศูนย์ล้อหลัง ก็ต้องทำใจ
ผิด 8. " ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเวลาข้ามแยก "
ที่ ถูก...เวลาข้าม แยก รอให้รถว่าง และไม่ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน ถ้าคุณเปิด ไฟฉุกเฉิน รถทั้งด้านซ้าย/ขวา ต่างก็จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น รถ ทางขวาอาจจะจอดให้ไป แต่สำหรับทางซ้ายอาจคิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้ายจึงไม่หยุดให้ อุบัติเหตุ จึงเกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจผิด จากการใช้สัญญาณไฟแบบผิดที่...ผิดทาง
ผิด 9. " ฝนตกหนักหรือหมอกลงจัดต้องเปิดไฟฉุกเฉิน "
ที่ ถูก...อาจสร้างความสับสนให้ผู้ร่วมทางไฟ ฉุกเฉินใช้เวลาจอดฉุกเฉิน ในสภาพ อากาศที่ไม่ดี และมี ทัศนวิสัยแย่มากจนมองแทบไม่เห็นรถคันหน้า การชะลอความเร็ว เปิดไฟ หน้า และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ทำให้ที่วิ่งสวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ามีรถจอดเสียอยู่ทางซ้ายริมถนน และหักหลบไปทางขวา ซึ่งเป็นไหล่ทาง กว่าจะเห็นอาจจะสายเกินไป ไม่ลงไปข้างทางก็อาจพุ่งข้ามช่องทางมาชน หรือ ถ้าหยุดรถก็ขวางทางและเกิดอุบัติเหตุการใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากควร ใช้
เฉพาะเวลาที่รถเสีย และต้องจอดอยู่ริมถนน เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมทางที่สัญจรผ่านไปมา ใช้ ความระมัดระวัง และชะลอความเร็วในจุดที่รถจอดเสียอยู่
ผิด 10. " ผ้าเบรกแข็ง หรือ ผ้าเบรกเนื้อแข็ง ไม่ดี "
ที่ ถูก...ไม่แน่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ วามเข้าใจผิด ๆ เรื่อง " ผ้าเบรก " ที่ว่าผ้าเบรกอ่อนดี กว่าแข็ง เกิดจากบรรดาช่างซ่อมรถที่ไม่ได้อธิบายให้เจ้าของรถเข้าใจการ ผสมเนื้อผ้าเบรกให้ใช้งานได้ดี เป็นศาสตร์ชั้นสูง ใช้วัสดุนานาชนิด และมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติของผ้าเบรก และมักจะขัดแย้งกันเอง ถ้าเน้นข้อดีข้อใดขึ้นมา ก็มักจะ มีข้ออื่นด้อยลงไป เช่นการใช้ส่วนผสมที่เบรกหยุดดีก็จะกินเนื้อจานเบรกมากหรือร้อนจัดหรือ ไม่เนื้อผ้าเบรกก็สึกเร็ว พอทำให้สึกช้าก็แข็งเบรกไม่ค่อยอยู่ หรือมีเสียงรบกวน ส่วนผ้าเบรก
" เนื้ออ่อน " ที่มีจุดเด่นเรื่องไม่กัดกินเนื้อจานเบรก ก็จะมีข้อด้อยตรงจุดอื่น
ผิด 11. " เอนนอนขับแบบนักแข่ง...สบายที่สุด "
ที่ ถูก...นั่งขับแบบไม่ต้องชะเง้อ จะได้ไม่เมื่อย และไม่อันตราย ท่าขับแบบนักแข่ง ตัวจริง ต่างกับการปรับเบาะเอนนอนขับมาก การนั่งท่านี้จะรู้สึกว่าจะหลุดจากเบาะนั่งทุกครั้ง ที่เบรกแรงๆ แขนที่เหยียดตึงตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เมื่อยล้า ยังต้องยกตัวขึ้นเมื่อถึง เวลาที่ต้องเลี้ยว เพราะไม่มีแรงหมุนพวงมาลัย และมองทางข้างหน้าไม่เห็น เช่นเดียวกับเวลา ถอยหลังจอดสายเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าการนั่งขับแบบปกติ อาจจะรั้งคอแทนที่ จะเป็นไหล เมื่อเกิดอุบัติเหตุท่านั่งที่ถูกต้องเอาหลังพิงพนักจนสนิทแล้วเหยียดแขน ข้างใดข้าง หนึ่ง ไปวางบนส่วนบนสุดของพวงมาลัยแล้วตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัตช์ จนจมโดย ไม่ต้องเหยียดข้อเท้าสุดแบบนักบัลเลท์ ส่วนใต้ของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้า จนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงตรงสะโพกพอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง
ผิด 12. " นั่งชิดพวงมาลัยเพื่อให้มองเห็นหน้ารถ "
ที่ ถูก...อันตราย ตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับรถนัก และได้รับการสอนท่านั่งมาแบบผิดๆ ลำตัวที่อยู่ชิด กับพวงมาลัย นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัดเพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความ เสี่ยงให้แก่ตัวผู้ขับ ที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับพวงมาลัย และแรงระเบิดจาก ถุงลมนิรภัย
ผิด 13. " สอดมือหมุนพวงมาลัยถนัด เบาแรง และปลอดภัย "
ที่ ถูก...ไม่ถนัดจริงและอันตราย ไม่ควรทำการหงายมือล้วงหรือสอดมือจับพวงมาลัย เพื่อเลี้ยวรถ เป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือ หมุน แต่การทำแบบนั้นมี " อันตราย " มาก ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหิน และเกิดมือหลุด จากพวงมาลัย ดึงมือออกมาไม่ทันก้านพวงมาลัยจะตีมืออย่างแรง การจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง ควรจับในตำแหน่ง ๓ และ ๙ นาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อยและเพียงพอที่หมุนพวงมาลัย ได้ จนครบรอบ เมื่อต้องเลี้ยวรถมากกว่าหนึ่งรอบ จะปล่อยมือที่อยู่ด้านหลัง เพื่อมาจับในตำแหน่ง เดิม โดยทำในลักษณะนี้ทั้งเลี้ยวซ้าย/ขวา
ผิด 14. " เกียร์ ซีวีที ขับยากและกินน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป "
ที่ ถูก...ขับง่ายและประหยัดน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติ ทั่วไป การไม่สามารถเข้าใจเหตุ ผล ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ ผู้ที่ขับรถใช้เกียร์ ซีวีที บอกว่าขับแล้วรู้สึกเหมือนขับรถที่เกียร์ หรือ ระบบขับเคลื่อน " มีปัญหา " ให้ความรู้สึกที่ไม่ดี โดยเฉพาะตอนที่ขับด้วยความเร็วคงที่แล้ว กดคันเร่งเพิ่มเกียร์จะเลือกอัตราทดที่เหมาะ ทำให้ความเร็วเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นทันที แต่ความ เร็วรถยังเท่าเดิม ให้ความรู้สึกเหมือนรถคลัตช์ลื่น การขับแบบประหยัดเชื้อเพลิง ให้เหยียบคัน เร่งไม่ลึกนักขณะออกรถ และรักษาระยะที่เหยียบไว้ ช่วงแรกเครื่องยนต์จะส่งกำลังผ่านทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ พอล้อรถหมุนเร็วพอสมควรและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากทอร์คคอนเวอร์ เตอร์แล้ว ระบบต่อตรงส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังจานทรงกรวยตัวขับก็จะทำงาน จากนั้น ระบบควบคุมจะลดระยะห่างของจานทรงกรวยคู่ที่เป็นตัวขับเป็นการลดอัตราทดเพื่อ เพิ่มความ เร็วรถ โดยที่ความเร็วของเครื่องยนต์ค่อนข้างคงที่ ยกตัวอย่างเช่น ประมาณ ๑ , ๘๐๐ รอบต่อ นาที ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเดียวกับที่อัตราทดของเกียร์ลดลง จนได้ความเร็ว ประมาณ ๖๐ - ๗๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดของการเหยียบคันเร่งของเราเท่านี้ เยี่ยมไหมครับ ?
ผิด 15. " ต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง "
ที่ ถูก...ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้ง แต่ถ้าเปลี่ยนได้ก็ดี ผู้ผลิตรถยนต์จากยุโรป แนะนำให้เปลี่ยนพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง แต่โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อย แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรอง หรือหม้อกรองทุก ๆ ครั้งที่ ๒ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำ มัน เครื่อง ถ้าคำนึงถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่องยุคปัจจุบันแล้ว น้ำมันเครื่องหมดอายุแล้ว ใน หม้อกรองน้ำมันเครื่องจำนวนหนึ่งปนเปื้อน ไม่ถึงกับให้โทษในด้านการหล่อลื่นหรือทำความ สะอาดภายในเครื่องยนต์ แต่เมื่อคำนึงถึงราคาหม้อกรอง หรือไส้กรอง ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมัน เครื่องแล้ว ควรเปลี่ยนทุกครั้งเพื่อให้น้ำมันเครื่องสะอาดที่สุด และทำหน้าที่รักษาเครื่องยนต์ ของเราจะดีกว่า
ผิด 16. " ควรเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพื่อถนอมเครื่องยนต์ "
ที่ ถูก...อาจจะหนืดไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว เราแบ่งหัว เชื้อน้ำมันเครื่องได้เป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำมันเครื่องและ ประเภทที่ช่วยเพิ่มความหนืดของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงในปัจจุบันมีส่วนผสม
ของสารต่าง ๆ อยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมจึงไม่ควรใส่สารอื่นเข้าไปทำลาย สัดส่วน สารเคมีเหล่านี้ให้เสียสมดุล และกลับให้โทษแก่เครื่องยนต์ ประเภทแรกจึงไม่จำเป็น ส่วนหัว เชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเพิ่มความหนืด อาจช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ ที่หมดสภาพแล้วได้บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงราคาแล้ว ก็ไม่น่าจะช่วยประหยัดได้ และเป็นการแก้ ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย วิธีที่ถูกต้องคือ การซ่อมใหญ่ หรือ โอเวอร์ฮอล เพื่อให้เครื่องยนต์กลับ คืนสู่สภาพดีปกติ
ผิด 17. " เติมน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงปนกับน้ำมันเครื่องทั่วไปจะได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น "
ที่ ถูก...การผสมไม่ได้ช่วยให้คุณภาพดีขึ้น ใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพมาตรฐานจะดี กว่า การนำน้ำมันเครื่อง คุณภาพสูงสุดสักครึ่งลิตร มาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพ ปานกลาง ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้ เอาเงินส่วนนี้ ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่า เช่นเดียวกับ การเอาน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปน้ำมันเครื่องชั้น ดีราคาสูงซึ่งจะทำให้ส่วนผสม ของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเสียสมดุลไป เท่ากับน้ำมันเครื่องทั้งหมดคุณภาพต่ำไป การเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่าย นั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งานเพียงระยะสั้น ทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า
ผิด 18. " ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ทุก ๆ ๕ , ๐๐๐ กิโลเมตร "
ที่ถูก...ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำมันเครื่องและความต้องการของเครื่องยนต์ ผู้ผลิตรถ
ยนต์ แต่ละราย กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เครื่องยนต์แต่ละ รุ่นต้องการใช้อยู่ ในคู่มือประจำรถ และกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไว้แตกต่างกันด้วย รถยนต์ของ ค่ายญี่ปุ่น จะมีกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นระยะทางที่สั้นกว่ารถยุโรป เช่น ทุก ๆ ๕ , ๐๐๐ กิโลเมตร และ ๑๐ , ๐๐๐ กิโลเมตร ส่วนรถค่ายยุโรปส่วนใหญ่ที่เครื่องยนต์ใหญ่ใช้รอบเครื่อง ยนต์ต่ำ และมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ไว้สูง เช่น ระดับ SJ สำหรับเครื่องยนต์เบน ซิน จะกำหนดระยะทางถึง ๑๕ , ๐๐๐ กิโลเมตร หรือมากกว่านั้น อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนก่อน เวลาก็ไม่ได้ทำให้เสียหาย เพียงแต่เปลืองเงินกว่าที่ควรเท่านั้นเอง ผู้ใช้รถควรใช้วิจารณญาณ ในการร่นระยะเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามสภาพการใช้งาน เช่นกรณีที่ใช้งานในสภาพการ จราจรติดขัดเป็นส่วนใหญ่ เหลือ ๗๐ % ที่กำหนดในคู่มือ หรือถ้าต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ บ่อย ๆ และ " รถติด " เป็นประจำด้วย เหลือเพียง ๕๐ % ถ้าใช้น้ำมันเครื่อง " ธรรมดา " คุณภาพสูงแล้วใช้งานหนักมาก เปลี่ยนทุก ๕ , ๐๐๐ กิโลเมตร ถ้าใช้น้ำมันเครื่อง สังเคราะห์ ๑๐๐ % เปลี่ยนทุก ๑๐ , ๐๐๐ กิโลเมตร หากใช้งานเบากว่านี้ เพิ่มระยะทางได้ตามความ เหมาะสมไม่ใช่กำหนดที่ปั๊มน้ำมัน หรือศูนย์บริการ ฯ ลดทอนเพราะต้องการขายน้ำมันเครื่อง
ผิด 19. " เครื่องยนต์ดีเซลมีระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เท่ากับเบนซิน "
ทีถูก...อุณหภูมิภายในไม่เท่ากัน อายุการใช้งานก็ต่างกันด้วย การเผาไหม้ของ
ครื่องยนต์ ดีเซลก่อให้เกิดเขม่ามากกว่าในเครื่องยนต์เบนซินผง เขม่าขนาดเล็กสามารถลอด ผ่านกระ ดาษกรองของหม้อกรองน้ำมันเครื่อง ได้ เมื่อสะสมแขวนลอยอยู่ในน้ำมันเครื่องมาก ขึ้นจะ ทำให้ น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูงขึ้นคุณสมบัติในการหล่อลื่นจึงลดลงเครื่อง ยนต์ ดี เซลระบบฉีดตรง เข้าห้องเผาไหม้ หรือไดเรคท์อินเจคชันยุคใหม่มีเขม่าน้อยกว่าแบบพรีแชม เบอร์มาก เราจึง สังเกตได้ว่ากำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แบบนี้ใกล้เคียงกับ เครื่องยนต์เบนซินแล้ว
ผิด 20. " น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ๑๐๐ % คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา "
ที่ ถูก...ราคาแพงกว่าใช้ได้นานกว่า แต่จะคุ้มหรือไม่อยู่ที่ใจ จุดเด่นแรกของน้ำมัน เครื่องสังเคราะห์อยู่ที่ค่าความหนืดต่ำที่อุณหภูมิต่ำ จึงไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ในสภาพเย็นจัดเช่นต่ำกว่า 0 องศา เซลเซียสซึ่งสภาวะ เช่นนี้ไม่มีในประเทศไทย ข้อดีประการที่ ๒ คือทนต่อความร้อนสูงที่ผนังกระบอกสูบได้ดีกว่า จึงมีอัตราการระเหยเป็นไอได้น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง " ธรรมดา " อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน เครื่องอาจน้อยกว่าเล็กน้อย จุดเด่นอีกข้อของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ คือ การมีค่าดัชนีความ หนืดสูง จึงไม่ " ใส " เกินไปเมื่อถูกความร้อนจัด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีสารปรับดัชนี ความหนืดผสมอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา เนื่องจากสารปรับดัชนีความหนืด นี้เสื่อมสภาพได้ง่ายตามอายุใช้งาน น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีอายุใช้งานยาวนานกว่าน้ำ มัน เครื่องธรรมดามาก เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ๑๐๐ % กับราคาน้ำมัน เครื่อง " ธรรมดา " ระดับคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคาสูงกว่าราว ๒ ถึง ๔ เท่า จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า " คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา " ยกเว้นพวกชอบใช้ของแพง ได้ จ่ายเงินมากแล้วมีความสุข ผู้ที่ต้องการถนอมให้เครื่องยนต์สึกหรอน้อยที่สุด โดยไม่คำนึงถึง ราคาว่าคุ้มหรือไม่
ผิด 21. " ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกแต่เปลี่ยนบ่อย ๆ ช่วยถนอมเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด "
ที่ ถูก...ถ้าเจอน้ำมันเครื่องปลอม หรือไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย ไม่ควรนำน้ำมันเครื่องราคาถูกมาเปลี่ยนบ่อย ๆ เช่น ทุก ๓ , ๐๐๐ หรือ ๔ , ๐๐๐ กิโลเมตร แทนน้ำมันเครื่องมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เพราะในประเทศเราที่ไม่มีหน่วยงานควบคุม และ ตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันเครื่องอยู่เลย แม้น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพสูงที่เราซื้อมาก็อาจ เป็นของปลอมที่กรองและฟอกสีมาจากกากน้ำมันเครื่องใช้แล้วได้ วิธีถนอมเครื่องยนต์ที่ดีที่ สุด คือ เลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุด ก่อนอื่นต้องเลือก " ยี่ห้อ " และสถานที่จำหน่ายที่ น่าไว้วางใจได้ เลือกระดับคุณภาพ แล้วจึงดูระดับความหนืด หรือความข้นของน้ำมันเครื่องที่ เหมาะสมกับอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองไทย เช่น 10W-40/15W-40/15W-50 หรือ 20W-50 ระดับคุณภาพที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย คือ ระดับคุณภาพตามมาตรฐานของ API (AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE) ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซินควรใช้น้ำมัน เครื่อง ระดับคุณภาพ SJ หรือ อย่างน้อย SH ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือกระดับ CG - 4 หรืออย่างน้อย CF - 4
ผิด 22. " เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ลูกใหญ่ จะได้สตาร์ทง่าย "
ที่ ถูก...แบตเตอรี่ขนาดไหนก็ใช้ไฟเท่าเดิมใหญ่ไป ก็หนักรถการใช้แบตเตอรี่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ขณะที่องค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งเครื่องยนต์ ไดสตาร์ท และไดชาร์จ ยังมี ขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะ ความต้องการไฟในการสตาร์ทเครื่องยนต์ยังเท่าเดิมแล้ว ยังอาจส่งผลเสีย กับไดชาร์จใน อนาคต แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป ไม่เพียงต้องทำให้เจ้าของรถต้องดัดแปลงแท่น วางแบตเตอรี่ใหม่เท่านั้น ยังอาจส่งผลให้ไดชาร์จทำงานเต็มกำลังตลอดเวลา เพื่อบรรจุไฟเข้า ไปเก็บในแบตเตอรี่ ซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อไฟเต็ม
ผิด 23. " ดับเครื่องยนต์ ปิดพัดลมแอร์ จะช่วยให้แอร์ไม่เสียเร็ว "
ที่ ถูก...ควรปิดคอมเพรสเซอร์แอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยยืดอายุตู้แอร์ ระบบทำ ความเย็นทั้งภายในรถและอาคาร อาศัยหลักการถ่ายเทความเย็น และระบายความ ร้อน ซึ่งตู้ แอร์หรือคอยล์เย็นจะมีสารทำความเย็นบรรจุอยู่ภายใน โดยมีพัดลมทำหน้าที่เป่าลม การปิด พัดลมหลังดับเครื่องความเย็นยังคงอยู่ภายในระบบตู้ แอร์จึงชื้น และกลายเป็นที่สะสมฝุ่นละออง ซึ่งจะทำให้ลมผ่านได้ไม่สะดวก เกิดการอุดตัน และตู้รั่ว การปิดคอมเพรสเซอร์ หรือปิดสวิตช์ AC ก่อนดับเครื่องยนต์อย่างน้อย ๕ -๑๐ นาที จะช่วยไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไม่เป็นที่สะสมฝุ่น นอกจากจะช่วยยืดอายุตู้แอร์ ยังช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่มักเกิดพร้อม ๆ กับความชื้น อีกด้วย
ผิด 24. " แก๊สโซฮอลสิ้นเปลืองกว่าเบนซิน ๙๕ เพราะแอลกอฮอล์ระเหยได้ง่ายกว่า "
ที่ ถูก...แอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงาน ต่ำกว่าของเบนซิน การที่แก๊ส โซฮอลสิ้นเปลืองกว่าเพราะแอลกอฮอล์มีพลังงานสะสมในตัวมันน้อยกว่า เมื่อเทียบมวลเท่ากัน เช่น มีพลังงานกี่กิโลแคลอรีต่อมวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากันหรือกล่าวได้ว่าแอลกอฮอล์ มีความหนา แน่นของพลังงาน หรือ ค่าความร้อน ( HEATING VALUE) ต่ำกว่าของเบนซิน เกี่ยวกับการ ระเหยง่ายอย่างที่หลายคนคิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ น้ำมันเบนซินซึ่งระเหยง่ายมาก และ น้ำมันดีเซลซึ่งระเหยยากมาก แต่มีความหนาแน่นของพลังงานหรือค่าความร้อนพอๆ กัน และมากกว่าของแอลกอฮอล์ประมาณเท่าตัว
ผิด 25. " เติมน้ำยาหล่อเย็นจะทำให้หม้อน้ำรั่ว "
ที่ ถูก...น้ำยาเติมหม้อน้ำช่วยลดตะกอนและควบคุมอุณหภูมิของน้ำ น้ำยาเติม หม้อหรือน้ำยาหล่อเย็น ( COOLANT) ถูกมองว่าเป็นตัวการทำให้หม้อน้ำและปั๊มน้ำรั่วอยู่ เสมอ นั่นก็เพราะผู้ใช้รถจะพบปัญหาเหล่านี้หลังจากที่ได้เติมน้ำยาหล่อเย็น ซึ่งในความเป็น จริงเกิดจากระบบหล่อเย็นของรถขาดการบำรุงรักษามาเป็นเวลานานหรือใช้น้ำที่มี ค่าเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป จนเกิดการผุกร่อน ดังนั้นเราควรบำรุงรักษาหม้อน้ำด้วยการเปลี่ยนถ่าย น้ำยาในระบบหล่อเย็นปีละครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดถังพักน้ำด้วย ส่วนการผสมน้ำยาหล่อเย็น ควรทำตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตระบุไว้
ผิด 26. " รถที่ใช้จานเบรก ๔ ล้อปลอดภัยกว่ารถที่ใช้ดุมเบรกหลัง "
ที่ ถูก...ไม่แน่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า จานเบรกใช้ได้ดีกับรถทุกรุ่นทุกขนาด แม้ว่าคุณสมบัติที่ดีของจานเบรกคือ ระบายความร้อน ได้เร็ว ส่วนใหญ่ผู้ผลิตรถจึงใช้กับล้อหน้าที่ผ้า เบรกจับตัวจานเบรกแทบจะตลอดเวลา ดุมเบรก ที่ระบายความร้อนได้ช้ากว่าเพราะมีฝาครอบ แต่มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจานเบรกและไม่มี ปัญหาเบรก ล็อกเหมือนจานเบรกใช้ในล้อหลัง รถที่ใช้งานแบบทั่วไป รวมทั้งรถที่มีระบบเอบี เอส ซึ่งวิศวกรผู้ผลิตรถยนต์จะเลือกใช้จานเบรกตามความเหมาะสม การที่เจ้าของรถนำรถไป ดัดแปลงใช้จานเบรกในล้อหลัง ต้องระวัง เพราะหากล้อหลังหยุดก่อนล้อหน้าเมื่อเบรก อาจทำ ให้รถหมุนได้
ผิด 27. " เปลี่ยนกรองเปลือย และหัวเทียน ทำให้รถแรงขึ้น "
ที่ ถูก...ช่วยอะไร ไม่ได้มาก ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป การเปลี่ยนกรองอากาศมา เป็น แบบกรองเปลือย ที่ไม่มีกล่องป้องกันฝุ่น และท่อนำอากาศ อาจจะช่วยให้อากาศเข้าได้สะดวก ขึ้น แต่ความหนาแน่นของมวลอากาศน้อยลงเพราะอุณหภูมิความร้อนภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งปริมาณอากาศกับห้องเผาไหม้เท่าเดิม จึงให้กำลังตกลงเมื่อเครื่องร้อน อีกทั้งมีฝุ่นละออง มากทำให้ต้องล้างหรือทำความสะอาดบ่อยๆ การใช้หัวเทียนใหม่ช่วยให้การจุดระเบิด สมบูรณ์ แต่ไม่ได้เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้สูงกว่ามาตรฐานผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนดไว้
ผิด 28. " ไส้กรองอากาศไม่ต้องเปลี่ยน แค่เป่าลมก็ใช้ได้แล้ว "
ที่ ถูก...เปลี่ยนใหม่ จะช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันไปได้นับพันบาท การใช้ลมเป่าไส้ กรองอากาศที่นิยมทำกัน เมื่อมีฝุ่นติดเต็ม จนมองไม่เห็นสีเดิม วิธีนี้ช่วยให้ฝุ่นละอองเบาบาง ลง อากาศไหลผ่านได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเป่าแรงเกินไปแผ่นกรองอาจเสียหายจนใช้งานต่อไม่ได้ เพราะมีรูกว้างจนฝุ่นขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้ คิดแล้วไม่คุ้ม ยอมจ่ายเงินซื้อของใหม่ มาใส่จะคุ้มกว่า การล้างคาร์บูเรเตอร์ หรือหัวฉีด แถมยังประหยัดค่าน้ำมันทางอ้อมอีกด้วย เป็น อย่างไรบ้างครับ หลังจากอ่านคำแนะนำแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ขึ้นกับสถานการณ์ของแต่ละ บุคคลและช่วงเวลาที่ต่างกันไป สิ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงแนวทางที่น่าจะดูว่านำไปลองใช้ให้เกิด ประโยชน์ได้ อีกประการหนึ่งที่อยากฝากไว้คือ จงระลึกเสมอว่า การใช้รถเท่าที่จำเป็นนั้น ดีที่ สุดครับ